วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์





คอมพิวเตอร์คืออะไร

               

             คอมพิวเตอร์  ( Computer )  คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเก็บข้อมูล  ประมวลผลส่งข้อมูล  จัดการเรื่องข้อมูลเพื่อทำให้เกิดสารสนเทศได้  นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณและทำงานให้เราได้  คอมพิวเตอร์เป็นคำภาษาอังกฤษที่มาจากคำว่า  “Computer”  หมายถึงการคำนวณ  เนื่องจากจุดประสงค์หลักในการสร้างคอมพิวเตอร์ในยุคแรกเริ่มคือเพื่อใช้ในการคำนวณ

       ระบบคอมพิวเตอร์
               ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่สามารถรับข้อมูล (data)  ผ่านช่องทางนำเข้าข้อมูล  (input)  เพื่อมาทำการประมวลผล  (process)  โดยหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  และนำผลลัพธ์ที่ได้ซึ่งเรามักเรียกว่า  สารสนเทศ  (information)  ผ่านช่องนำออก  (output)  ไปแสดงผลที่จอภาพแสดงผล  (Monitor)  ได้  เหตุผลที่สำคัญในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์คือเพื่อการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพรวดเร็วแม่นยำ  และทันเวลาในการใช้ข้อมูลนั้น  ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้งานได้มากและซับซ้อนขึ้น

        องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
               
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่งไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญใหญ่ๆ  4ส่วน ดังนี้คือ
    1.อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) หรือส่วนเครื่อง
    2.ซอฟต์แวร์ (software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
    3.ข้อมูล (data)
    4.บุคลากร (people)


แสดงองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึงตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (processor)
2.ส่วนความจำ (memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (input-output devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (storage device)

                                                       
แสดงองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์

หน่วยประมวลผลกลาง
      หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกคำย่อว่า ซีพียู (CPU) คำว่าซีพียู มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างด้วยกันคือ
          1.ตัวชิป (chip) ที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
          2.ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องเครื่องที่มีซีพียูบรรจุอยู่
             ความหมายส่วนที่ 2 ถ้ามองทางด้านเทคนิคแล้วจะเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวซีพียูเป็นชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
แสดงลักษณะของซีพียูที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

หน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยความจำหลัก (Main memory) คือ หน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถถูกนำออกมาใช้ในการประมวลผลในภายหลัง โดยซีพียูทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดความจุของหน่วยความจำสามารถคำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูลและขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บได้สูงสุดในขณะทำงานถ้าพื้นที่ของหน่วยความจำมีมากจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้นด้วย

          หน่วยความจำหลักแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
  1.หน่วยความจำแบบแรม” (RAM = Random Access Memory)
  2.หน่วยความจำแบบ รอม” (Read Only Memory)

1.หน่วยความจำแบบ แรม”  (RAM = Random Access Memory) หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนส่งให้กับเครื่อง เมื่อปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบหายไป เราเรียกว่าหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory)



ลักษณะของหน่วยความจำแรมที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

2.หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ต้องใช้เทคนิคพิเศษช่วย ส่วนใหญ่ใช้ในการเก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (nonvolatile memory)


จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง
        ตัวจานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk) ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน (Hard Disk Drive) เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงานต้องการโดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้นส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ขนาด 500 เมกะไบต์ (Megabyte) จนถึง 80 กิกะไบต์ (Gigabyte) หรือมากกว่า

แผ่นบันทึกหรือปอปปี้ดิสก์
แผ่นบันทึกข้อมูล (floppy disk) เป็นหน่วยความจำรอง ตัวแผ่นทำด้วยพลาสติกขนิดอ่อน มาตรฐานที่นิยมใช้ในขนาดนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 นิ้ว ความจุข้อมูล 1.44 เมกะไบต์ บรรจุในซองพลาสติกแข็งเพื่อป้องกันกับแผ่นบันทึกไม่ให้เสียหายง่าย ใช้เป็นสื่อในการถ่ายโอนหรือสำเนาแฟ้มข้อมูล นอกจากนี้ยังมีแผ่นบันทึกชนิดพิเศษสามารถเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากถึง 200 เมกะไบต์หรือมากกว่านั้น เช่น ซิปดิสก์ (Zip disk) แจ๊ซดิสก์ (Jaz disk) เป็นต้น

ซีดีรอม

        ซีดี ย่อมาจากคอมแพกดิสก์ และรอมเป็นคำเดียวกับหน่วยความจำแบบรอมคือคำว่า Read Only Memory แผ่นซีดีรอม (CD-ROM) หรือ แผ่นซีดี เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลที่บันทึกไว้ออกมาใช้ ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้ ใช้อ่านอย่างเดียว ลักษณะคล้ายแผ่นซีดีเพลง ใช้ระบบเสียงเลเซอร์ในการอ่าน ข้อมูลที่เก็บเป็นได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพก็ได้ มีความจุประมาณ 650 เมกะไบต์
        อุปกรณ์รับเข้า
อุปกรณ์รับเข้า (input device) คือส่วนที่สามารถรับเข้าข้อมูลที่มาจากภายนอกโดยผ่านอุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น คีย์บอร์ดหรือแผงแป้นอักขระ เมาส์ ไมโครโฟน โมเด็ม และอื่นๆ

       แผงแป้นอักขระหรือแป้นพิมพ์ (keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่นิยมใช้จะมี 101 แป้น และแยกแป้นอักขระและตัวเลขออกจากกัน ส่วนบนจะเป็นแป้นคำสั่งพิเศษเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น 
เมาส์ (mouse) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู ดังแสดงในรูปที่ 2.12 ส่วนของสายสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู เราใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ (Pointer) ที่ปรากฏบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องการได้โดยง่ายสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้ จะมีปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม ด้วยกัน

อุปกรณ์ส่งออก
           อุปกรณ์ส่งออก (output device) คือส่วนที่สามารถส่งข้อมูลที่มีอยู่ภายในเครื่อง โดยผ่านช่องสัญญาณส่งออกเพื่อไปแสดงผลที่อุปกรณ์อื่นๆ ได้ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง โมเด็ม และอื่นๆ


        จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่วไปนิยมใช้แบบจอภาพสี สามารถแสดงระดับความแตกต่างของสีตั้งแต่ 16,256,65,536 และ 16,177,216 สีความละเอียดของจุดภาพที่เรียกว่าพิกเซล (pixel) ในการแสดงผลที่ปรากฏบนหน้าจอภาพขึ้นอยู่กับขนาดแมทริกซ์ของการแสดง เช่น 640 x 480,800 x 600,1024 x 768 และ 1280 x 1024 จุด

           เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์ผลภาพหรือการรายงานผลการตรวจ มีทั้งชนิดเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer) เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) และเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (inkjet printer) ความคมชัดของภาพหรือตัวหนังสือ ประมาณ 600 จุดต่อนิ้วหรือสูงกว่า การเลือกใช้เครื่องพิมพ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ว่ามีความต้องการคุณภาพของงานและจำนวนสีอย่างไร

            ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานระบบสื่อประสม (multimedia) ได้ โดยสามารถดูหนังที่มีเสียงประกอบจากแผ่นซีดี ฟังเพลงหรือเสียงต่างๆ ที่เกิดจากโปรแกรมที่สร้างขึ้น ทำให้มีความสมบูรณ์ในการใช้งานได้ดี โดยทั่วไปเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีลำโพงในตัวเพื่อใช้งานอยู่แล้ว แต่มีระบบเสียงไม่ดีเราสามารถซื้อลำโพงที่มีเครื่องขยายเสียงในตัวมาเพิ่มเติมได้โดยเพิ่มแผ่นวงจรเสียงเข้าไปในเครื่องเพื่อให้สามารถต่อระบบลำโพงภายนอกได้



การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในองค์กร   
            เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทคโนโลยีเพิ่งขีดความสามารถขององค์กร ( Enabling  Technology )  หมายความว่า  หากองค์กรใดสามารถนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  ย่อมทำให้การดำเนินกิจการขององค์กรนั้นเจริญก้าวหน้าไปไกลและรวดเร็วกว่าองค์กรอื่น  ทั้งนี้  เพราะการมีข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีนั้น  ย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive  Advantage )  เหนือคู่แข่งขันนั้นเอง
                เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก  การนำมาใช้ในองค์กรจึงต้องพัฒนาตามให้ทันด้วย  แต่เนื่องจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นกิจกรรมที่ต้องลงทุนสูง  จึงต้องดำเนินการอย่างชาญฉลาด  แนวทางการดำเนินการมีดังต่อไปนี้
1.             ควรจัดทำแผนพัฒนาเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า  วัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นอย่างไร   ต้องลงทุนอย่างไร   ค่าใช้จ่ายประจำเพิ่มขึ้นหรือไม่  ผลที่ได้รับเป็นอย่างไรและคุ้มค่าหรือไม่
2.             แผนพัฒนาควรครอบคุลมการพัฒนาทุกด้าน  ทั้งฮาร์ดแวร์ ( รวมทั้งระบบเครือข่าย ) ซอฟต์แวร์  บุคลากรคอมพิวเตอร์  ข้อมูล  กระบวนการงาน
3.             หากในองค์กรไม่มีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ  ควรจ้างที่ปรึกษามาช่วยทำแผนข้อเตือนใจที่สำคัญคือ  อย่าเสียดายค่าจ้างที่ปรึกษา   เพราะที่ปรึกษาที่เป็นกลางและมีความสามารถ   จะช่วยให้ท่านประหยัดเงินได้มาก  ในทางตรงกันข้าม  หากท่านฟังคำแนะนำจากผู้ขายฝ่ายเดียว  ท่านจะลงเอยด้วยการลงทุนเกินความจำเป็น  ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุและทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเก็บเงินส่วนที่เกินจำเป็นนั้นไว้อัพเกรด ( Upgrade )  ระบบให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
4.             การลงทุนด้านบุคลากรเป็นสิ่งจำเป็น  และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า  องค์กรควรให้ความสำคัญลำดับสูงกับการมีบุคลากรที่มีความสามารถ  และการพัฒนาบุคลากรให้ตามทันเทคโนโลยีอยู่เสมอ
5.              ระบบข้อมูลคือทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร  ต้องมีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย  และต้องมีวิธีการให้เรียกใช้ได้อย่างทันการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้




สรุปสาระสำคัญ
                ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงองค์ประกอบต่างๆทั้งที่เป็นส่วนหลักและส่วนสนับสนุนที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้   องค์ประกอบทั้ง 5   ของระบบคอมพิวเตอร์  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  บุคลากร  ข้อมูล  และกระบวนงาน
            ฮาร์ดแวร์หลักๆของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย   หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยนำเข้า   หน่วยส่งออก  หน่วยความจำหลัก  และเครื่องเก็บข้อมูลความจุสูง
          ซอฟต์แวร์มี  ประเภทใหญ่ๆ คือ  ซอฟต์แวร์ระบบ  ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์  และซอฟต์แวร์ประยุกต์
         บุคลากรคอมพิวเตอร์มีทั้งระดับผู้ชำนาญการ  ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูง  และผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป  


คำศัพท์ที่ควรรู้
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
แผงหลัก
ซีพียูชิป
ชิปเซ็ต
หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยรับเข้า
หน่วยส่งออก
ฮาร์ดดิสก์
ฟลอปปี้ดิสก์
ซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
โปรแกรมแบบโครงสร้าง
โปรแกรมเชิงวัตถุ
“ กุย ”  ( ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ )
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล
การวิเคราะห์ระบบ
การสำรองข้อมูล
บุคลากรคอมพิวเตอร์
กระบวนงาน
ทีซีพี / ไอพี ( เกณฑ์วิธีการขนส่งข้อมูล /
 เกณฑ์วิธีอินเตอร์เน็ต )
เวิลด์ไวด์เว็บ
เอชทีทีพี ( เกณฑ์วิธีขนส่งข้อมูลหลายมิติ )

Mother  Board
CPU Chip
Chip set
Central  Processing  Unit
Input  Unit
Output  Unit
Hard Disk
Floppy  Disk
System  Software
Utility  Software
Application  Software
Structured  Programming
Object  Oriented  Programming
Graphic  User  Interface ( GUI )
Database   Management  Program
System  Analysis
Backup  Data
Computer  Personnel
Procedure
TCP / IP ( Transmission control  Protocol / Internet  Protocol )
World  Wide  Web ( WWW )
HyperText  Transfer  Protocal ( HTTP )











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น